สั่งซื้อยาฟาวิพิราเวียร์เพิ่มอีก 2 ล้านเม็ด เร่งให้ยาเร็ว ลดปอดอักเสบ
การกระจายวัคซีนและเร่งฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ร่วมกับ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ขอให้กำลังใจทุกฝ่ายบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานอย่างหนักมาก พร้อมทั้งวิเคราะห์สถานการณ์
-การติดเชื้อกระจายทั่วประเทศ มากกว่าครึ่งสามารถรับมือและควบคุมได้
-ประมาณ 20 จังหวัดที่มีการระบาดมาก
-คาดว่า ปลายสัปดาห์นี้จะเริ่มเห็นตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลง
-การรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อ เนื่องจากส่วนใหญ่การระบาดเป็นสายพันธุ์ใหม่คือ สายพันธุ์ B 1.1.7 หรือสายพันธุ์อังกฤษ จึงต้องดูแลผู้ติดเชื้อ 14 วัน จากเดิมที่ดูแลผู้ติดเชื้อเพียง 10 วัน ทำให้ผู้ติดเชื้อแต่ละคนต้องใช้เตียงนานขึ้น
-การระบาดรอบนี้มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ทำให้ดูเหมือนว่าผู้ติดเชื้อมีอาการมาก คนไข้หนักก็เริ่มเห็นมากขึ้น จึงต้องเตรียมความพร้อมเตียงไอซียู
-กระทรวงสาธารณสุข จัดทำคู่มือการประเมินความพร้อมในด้านต่างๆ เป็นแนวปฏิบัติให้ทุกโรงพยาบาลได้สำรองและเตรียมอุปกรณ์ เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ไว้อย่างเพียงพอ
-สั่งซื้อยาฟาวิพิราเวียร์เพิ่มอีก 2,000,000 เม็ด และสั่งซื้อยาฉีดเรมดิซีเวียร์เพิ่มเช่นกัน เพื่อรองรับสถานการณ์ กระจายยาให้ทั่วถึง ช่วงการระบาดรอบแรกมียาฟาวิพิราเวียร์ประมาณ 600,000-700,000 เม็ด ถือว่ามีเยอะ เนื่องจากขณะนั้นมีผู้ติดเชื้อน้อย แต่ตอนนี้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น นักวิชาการหลายคนเห็นว่าควรให้ยาเร็วขึ้นเพื่อลดอาการปอดอักเสบ จึงทำให้มีการใช้ยาเพิ่มมากขึ้นไปอีก จากการใช้วันละไม่กี่เม็ด เพิ่มเป็นวันละ 2 หมื่นเม็ด
วัคซีนซิโนแวค เข้ามาเพิ่ม 5 แสนโดส 24 เม.ย.
-ปรับแผนการฉีดวัคซีนตามสถานการณ์ ซึ่งในช่วงการระบาดความสำคัญอยู่ที่บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าต้องได้รับวัคซีน 100%
-วันนี้ จะกระจายวัคซีนซิโนแวคล็อตที่เข้ามา 1,000,000 โดส เพื่อฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าประมาณเกือบ 600,000 โดส หรือประมาณ 300,000 คน เร่งรัดการฉีดให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 25 เม.ย.64 จะทำให้การฉีดวัคซีนภาพรวมของประเทศไทยเกิน 1,000,000 โดส ภายในสัปดาห์นี้ และให้เร่งการฉีดวัคซีนทั้งเข็มแรกและเข็มที่ 2 ในกลุ่มเสี่ยงในทุกจังหวัดด้วยเช่นกัน หากทำได้อย่างรวดเร็วจะส่งวัคซีนลงไป
ซิโนแวค ผลิต
นายหยิน เหว่ยตง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทซิโนแวค ไบโอเทคของจีน แถลงว่า ซิโนแวค ได้ผลิต
ซิโนแวค ได้รับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศกว่า 450,000,000 ล้านโดส สำหรับ
รัฐบาล เจรจาไฟเซอร์ ส่งให้ 5-10 ล้านโดสช่วงก.ค.
วัคซีนของแอสตราเซเนกาที่ผลิตในประเทศไทย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ กล่าวว่า จะเริ่มทยอยส่งตั้งแต่เดือนมิ.ย.64 จำนวน 4,000,000-6,000,000 โดส และเพิ่มจำนวนตั้งแต่เดือนก.ค.64 จนถึงสิ้นปี 2564 จนครบ 61,000,000 โดส บวกกับเราที่จัดหาเพิ่มเติมเป็น
ขณะนี้สถาบัน
บ่ายนี้ สถาบันประสาทวิทยา สรุปสาเหตุ อัมพฤกษ์ หลังฉีดวัคซีน
จากข้อมูลอาการไม่พึ่งประสงค์ หลังฉีดวัคซีนเชื้อตายซิโนแวคเกิดอัมพฤกษ์ขึ้น นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข โพสต์ข้อความว่า กรณีนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนข้อมูล และในวันนี้ 13.00น. สมาคมประสาทวิทยา จะรวบรวมข้อมูลและสรุปสาเหตุทั้งหมด
จากการที่มีการแชร์ข้อมูลเรื่องการเกิดอาการผิดปกติทางระบบประสาทหลังจากฉีดวัคซีนซิโนแวคของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน จ.ระยอง ซึ่งผู้ป่วยทั้งหมดมีอาการภายใน 24 ชั่วโมงหลังฉีดยาและได้รับการตรวจวินิจฉัยทั้ง CT, MRI สมอง ไม่พบความผิดปกติชัดเจนและรักษาทันที หลังจากนั้นผู้ป่วยทุกคนมีอาการกลับมาเป็นปกติภายใน 1-2 วันนั้น เนื่องจากขณะนี้ทางทีมสอบสวนโรคของกระทรวงสาธารณสุขกำลังอยู่ในระหว่างสอบสวนหาข้อมูลเพิ่มเติม เบื้องต้นจากการสืบค้นข้อมูลทางวิชาการที่มีอยู่ ยังไม่พบการรายงานว่า วัคซีนซิโนแวคทำให้เกิดอาการโรคหลอดเลือดสมอง ระหว่างนี้ขอให้อย่าเพิ่งแชร์ข้อมูลที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง โดยขอให้รอทางทีมผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบข้อมูลและสรุปผล
รอผลตรวจยืนยัน ผอ.รพ.ศูนย์อุดรฯ ติดเชื้อ-อาการเบา
พญ.ฤทัย วรรธนวินิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี ตรวจพบติดเชื้อโควิด-19 รอผลการตรวจยืนยันซ้ำอีกครั้ง และอยู่ในความดูแลของแพทย์แล้ว แสดงอาการลักษณะเบา สำหรับผู้เสี่ยงสูง-ต่ำ ตรวจไม่พบติดเชื้อเพิ่ม ได้แยกทำการกักตัวทุกคน ส่วนหนึ่งได้กักตัวที่โรงแรมวีธรา บูธีค โฮเต็ล ถ.อุดรดุษฎี 50 คน ที่ไม่พร้อมไปกักตัวที่บ้าน
พญ.ฤทัย อายุ 58 ปี เป็นชาวอุดรธานี เคยรับราชการที่ รพ.ศูนย์อุดรธานี จนเลื่อนขึ้นไปเป็นผู้บริหาร ไปรับตำแหน่งหลายจังหวัด เช่น กาญจนบุรี สมุทรปราการ เพชรบูรณ์ และมารับตำแหน่งที่อุดรธานี เมื่อต.ค.63 แม้จะมาไม่นานก็มีผลงานเชิงรุก คลินิกนอกเวลา,คลินิกผู้สูงอายุเสาร์-อาทิตย์ ล่าสุดการเร่งฉีดวัคซีนบุคลากรทางการแพทย์ อ.เมือง อุดรธานี 4,000 คน เสร็จในวันเดียว รวมทั้งตัวผู้อำนวยการก็ฉีดวัคซีนแล้ว ซึ่งในวันฉีดวัคซีนเมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 เม.ย.64 ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี ให้สัมภาษณ์ว่า ฉีดวัคซีนแล้วก็ยังติดเชื้อได้อยู่ แต่จะทำให้มีอาการที่ไม่รุนแรง ฉะนั้นฉีดแล้วยังต้องรักษามาตรการต่างๆไว้
นพ.อัครวัต รัตนวงศ์ไพบูลย์ อายุรแพทย์ โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี กล่าวว่า โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี มีผู้ป่วยรักษาตัวอยู่ 105 คน อยู่ในห้องไอซียู 3 คน อาการไม่รุนแรง มีการให้ออกซิเจนธรรมดา ไม่ได้ใช้เครื่องช่วยหายใจ และมีผู้มีอาการทางปอดเพิ่ม 2 คน
ขณะเดียวกันได้ส่งต่อผู้ป่วยไปอยู่ในโรงพยาบาลชุมชน เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยลง และวันนี้เตรียมจะย้ายผู้ป่วย 27 คน ไปโรงพยาบาลสนาม หอพัก มรภ.อุดรธานี (สามพร้าว) ที่คัดกรองว่าต้องรับการดูแลในโรงพยาบาลอย่างน้อย 5 วัน,อายุ 15-60 ปี,ไม่มีไข้,ไม่มีโรคประจำตัว และช่วยเหลือตนเองได้