6 จังหวัด ติดเชื้อมากสุด-กทม.แชมป์
ที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (
ซึ่งที่ประชุม ศปก.
รพ.สนาม เอราวัณ 2 เปิดวันนี้ รับได้ 400 เตียง
วันนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดโรงพยาบาลสนาม (เอราวัณ 2) สนามบางกอกอารีน่า เขตหนองจอก เตรียมรองรับผู้ป่วย เป็นโรงพยาบาลสนามแห่งที่ 4 ของกรุงเทพมหานคร สามารถรองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้ 400 เตียง แบ่งเป็น ชาย 150 เตียง หญิง 250 เตียง
สำหรับผู้ที่ตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด-19 แต่ไม่มีอาการ ที่เรียกว่าโควิดเขียวให้มาดูแลรักษาและติดตามอาการที่โรงพยาบาลสนาม แต่หากมีอาการโควิดเหลืองหรือโควิดแดงจะส่งต่อเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ และโรงพยาบาลที่มีความพร้อมในการรักษาต่อไป
กรุงเทพมานคร มีเตียงโรงพยาบาลสนามรวมทั้งหมด 1,860 เตียง คาดว่าเพียงพอกับผู้ติดเชื้อโควิด-19
-โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน เขตบางขุนเทียน รองรับได้ 500 เตียง ใช้ไปแล้ว 480 เตียง ยังว่างอยู่ 20 เตียง วันนี้จะเพิ่มเตียงรองรับอีก 500 เตียง
-โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ เขตทวีวัฒนา รองรับได้ 250 เตียง ใช้ไปแล้ว 164 เตียง ว่าง 36 เตียง
-สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา บางบอน เขตบางบอน (โรงพยาบาลเอราวัณ 1) รองรับได้ 100 เตียง
-รพ.กลาง 110 เตียง
เชียงใหม่ ทยอยส่งผู้ป่วยหายโควิด กลับบ้าน
นพ.กิตติพันธุ์ ฉลอม ผู้ช่วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า จ.เชียงใหม่ เริ่มส่งกลับผู้ป่วยโควิด-19 ออกจากโรงพยาบาลกลับบ้านแล้ว โดยการอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้ยึดตามหลักเกณฑ์และหลักฐานทางวิชาการที่ว่าระยะแพร่เชื้อของผู้ป่วยอยู่ในช่วง10-14 วัน ซึ่งหากพ้นระยะดังกล่าวนี้แล้วผู้ป่วยจะไม่แพร่เชื้อ โดยในส่วนของผู้ป่วยที่มีอาการจะเริ่มนับ14วันตั้งแต่วันที่มีอาการและผู้ป่วยที่ไม่มีอาการจะเริ่มนับจากวันที่ตรวจพบเชื้อ
7
กลุ่มก้อนการระบาดในสถานประกอบการ ข้อมูลเมื่อวันที่ 17 เม.ย.64 ตัวอย่าง 6 สถานประกอบการ คือ
1. ชลบุรี บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง 23 คน
2.อุดรธานี การไฟฟ้า สาขาอุดรธานี 8 คน
3.กรุงเทพฯ ในธนาคารสำนักงานใหญ่ 2 แห่ง 5 คน บริษัทเอกชน 1 แห่ง 3 คน
4.สมุทรสาคร บริษัทเอกชน 2 คน
5.นนทบุรี บริษัทเอกชน 3 แห่ง 12 คน
6.ปทุมธานี ใน 2 หน่วยงาน อีก 4 คน
สธ. ห่วง 28 คน อาการหนัก ใส่ท่อช่วยหายใจ
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดี
กรมการแพทย์อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลการติดเชื้อรอบใหม่จาก
ข้อมูลวันที่ 4-8 เม.ย.64 ความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อจาก 1 คน ไปสู่คนอื่นๆ หรืออาร์ศูนย์ (R0) อยู่ที่ 2 กว่าๆ แต่หลังจากมี
แนวโน้มการระบาดขณะนี้อยู่ในช่วงชะลอ แต่ตัวเลขที่เพิ่มขณะนี้เป็นแรงเฉื่อยของการติดเชื้อก่อนหน้านี้ เพราะฉะนั้นแนวโน้มเราเริ่มคุมสถานการณ์ได้ ทั้งนี้ การระบาดส่วนใหญ่อยู่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เชียงใหม่ นครสวรรค์ นครราชสีมา ชลบุรี ชลบุรี ส่วนจังหวัดอื่นๆ มีการติดเชื้ออยู่ในวงจำกัดเล็กๆ
คาด 2 สัปดาห์ตัวเลขผู้ป่วยลด
นพ.โอภาส กล่าวว่า ต้องขอความร่วมมือจากประชาชนอีกหลายประการ ถ้าร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนจะควบคุมสถานการณ์ได้ ทางระบาดวิทยา คาดว่า ภายใน 2 สัปดาห์ตัวเลขจะค่อยๆ ลดลง แต่ช่วงนี้อาจจะมีตัวเลขสูงนิดหน่อย
นพ.โอภาสกล่าวว่า ที่น่าห่วงคือขณะนี้มีแนวโน้มระบาดไปยังโรงเรียน องค์กร สถานประกอบการ ดังนั้น สิ่งที่จะร่วมมือกันช่วยลดการแพร่ระบาดในประเทศไทยคือ
โควิด กระทบใจเครียดสูงกว่า 8 แสนคน อสม.-สูงอายุ ฟื้นจิตใจได้ดีที่สุด
พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า เมื่อเกิดการระบาดขึ้นมาเป็นวงกว้าง แนวโน้มประชาชนมีปัญหาสุขภาพจิตเริ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะจังหวัดที่มีการระบาดมาก ประชาชนเริ่มมีความเสี่ยงด้านสุขภาพจิตมากขึ้น เช่น เครียด ซึมเศร้า
จากการคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตผ่านระบบ mental Health Check In วันที่ 1-15 เม.ย.64
-ประชาชน 838,550 คน มีคนที่มีความเครียดสูง เสี่ยงซึมเศร้า เสี่ยงที่จะทำร้ายตัวเอง
-ในจำนวนดังกล่าว มีภาวะอ่อนล้า 38,804 คน หรือร้อยละ 4.63
-ติดตามไปแล้ว 20,849 คน หรือร้อยละ 53.73
-ที่เหลือ 17,893 คน หรือร้อยละ 46.27 อยู่ระหว่างการติดตาม
ช่วงนี้ที่มีการระบาดเป็นวงกว้าง พีคสุดวันที่ 12 เม.ย.64
-อัตราความเครียดสูง 5.6
-ซึมเศร้า 6.74
-ภาวะหมดไฟ 7.06
-มีความเสี่ยงฆ่าตัวตาย 3.12
อย่างไรก็ตาม จากการติดตามระดับพลังใจ หรือความสามารถในการฟื้นจิตใจของตัวเองพบว่ากลุ่มที่สามารถฟื้นฟูสภาพจิตใจได้ดีที่สุดคือ
-อสม. ร้อยละ 75.6 ทั้งๆ ที่เป็นกลุ่มที่ทำงานหนักและเป็นจิตอาสา
-ผู้สูงอายุ ร้อยละ 72.50
กลุ่มที่มีความเสี่ยงเดิมหรือมีปัญหาอยู่แล้ว เป็นกลุ่มที่จะมีพลังใจลดลง โดยพบอยู่ที่ร้อยละ 49.17
กรมสุขภาพจิต แนะนำวัคซีนทางใจ 4 เข็ม ฉีดทุกๆ วัน คือ
1. ความรู้สึกปลอดภัยไม่ว่าจะสายพันธุ์เปลี่ยนเป็นสายพันธุ์อะไรก็ตาม การป้องกันตัวเองยังเหมือนเดิมคือล้างมือ สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ไม่เข้าไปในที่ที่มีคนอัด
2. ไม่ตื่นตระหนก ขอให้ติดตามข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุข ไม่เสพข่าวจากแหล่งที่มาไม่ชัดเจน เลือกรับเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นกับตัวเรา
3.ความหวัง ซึ่งเราสามารถเลือกได้ว่าเราจะมองในมุมบวกหรือจะมองในสิ่งที่ทำให้เราห่อเหี่ยวใจ และส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้แก่กัน
4.ความเข้าใจ