'อนุทิน' แจง รมช.มนัญญา ไม่ได้เป็นอะไรมาก มีหลายปัจจัยที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯและรมว.สาธารณสุข ชี้แจงกรณี น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ เข้าโรงพยาบาล เพราะมีอาการไข้ หลังจากรับวัคซีนไปเมื่อวันที่ 23 มี.ค.64 ว่า ได้โทรศัพท์สอบถามอาการตั้งแต่วันแรกแล้ว ซึ่งรัฐมนตรีทุกคนมีเรื่องอดนอนเข้ามาเกี่ยวแน่นอน เพราะพักผ่อนน้อย รมต.คนไหนนอน 2 ทุ่มตื่น 6 โมงเช้า คงถูกนายกฯ ถามแน่นอนว่าทำไมไม่ทำงาน ดังนั้นมีหลายปัจจัย เช่น เรื่องของอายุ การเดินทาง ความเครียด ย่อมมีโอกาสที่จะได้รับผลข้างเคียง กรณีของน.ส.มนัญญา เมื่อมีไข้จึงเดินทางไปโรงพยาบาล 2 วันก็หาย ไม่ได้เป็นอะไรรุนแรง ดังนั้น ปัจจัยหลายอย่างรวมกันไม่ใช่
ในส่วนตัว นายอนุทิน กล่าวว่า วันที่ฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ความดันขึ้น ทั้งที่เตรียมตัวมาอย่างดี แต่เมื่อฉีดแล้วก็รู้สึกกังวลลึกๆว่าถ้าฉีดไปแล้ววูบไปตอนนี้จะทำอย่างไรเพราะมีนักข่าวมาทำข่าวอยู่เป็นจำนวนมาก ขณะนั้นก็กลัวเหมือนกัน เมื่อยิ่งกลัวก็ยิ่งเครียดถึงขั้นจับชีพจรตัวเองรู้สึกว่าชีพจรเต้นเร็วแต่สุดท้ายก็ไม่เป็นอะไร ดังนั้นขึ้นอยู่กับสภาพจิตใจด้วยเพราะเป็น
กรณีวัคซีนของบริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ที่ผ่านการรับรองของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) แล้วจะสามารถฉีดให้ประชาชนได้หรือไม่ นายอนุทิน กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับบริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน จะขายให้รัฐบาลหรือไม่ เพราะขณะนี้ยังเป็นเพียงการขึ้นทะเบียนให้กับจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าบริษัทใดก็ตามที่มาขึ้นทะเบียน เรารับเอาไว้ แต่รัฐบาลได้คุยกับบริษัทดังกล่าวว่าขอให้เป็นหลังจากที่แอสตราเซเนกา ส่งได้หมดตามคำสั่งซื้อทั้ง 61,000,000 โดสแล้ว เพราะเราถือว่าแอสตราเซเนกา เป็น
แฟ้มภาพ เฟซบุ๊ก น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์
นพ.โสภณ ยืนยัน ประสิทธิภาพของระบบติดตามอาการหลังฉีดวัคซีน
นพ.โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประธานคณะอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการการให้วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยืนยันว่า วัคซีน 2 ชนิดที่นำมาใช้ฉีดในไทย คือ ซิโนแวค และแอสตราเซเนกา มีความปลอดภัย รวมทั้งระบบติดตามอาการหลังฉีด ก็มีประสิทธิภาพ มีมาตรฐานระดับสากล โดยมีขั้นตอน คือ หลังฉีดวัคซีน 30 นาที เฝ้าดูอาการ ณ สถานที่ฉีด หลังจากนั้นมีการติดตามอาการ ทุกวันที่ 1 วันที่ 3 และวันที่ 7 หลังฉีด ซึ่งเมื่อเกิดอาการผิดปกติ อาการไม่พึงประสงค์ หรืออาการแพ้หลังฉีดวัคซีน จะมีการสอบสวนข้อเท็จจริงโดยคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่า มีความเกี่ยวข้องกับการรับวัคซีนหรือไม่ ซึ่งเป็นระบบเดียวกับที่ทั่วโลกใช้เช่นกัน แล้วรายงานข้อมูลข้อเท็จจริงให้ประชาชนรับทราบ โดยไม่มีการปิดบังข้อมูล ซึ่งกรณีผู้เสียชีวิตรายนี้ มั่นใจว่า ไม่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19
ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า นับตั้งแต่มีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทั่วโลก จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีรายงานการเสียชีวิตโดยตรงจากวัคซีนแม้แต่รายเดียว และวัคซีนที่ไทยใช้ ก็มีรายงานการแพ้แบบรุนแรงน้อยมาก ดังนั้นจึงถือว่าสบายใจและรับวัคซีนได้แบบไม่ต้องกังวล
ส่วนลักษณะอาการที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน จะแบ่งเป็น
- อาการไม่พึงประสงค์ เป็นอาการทุกชนิดที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน ซึ่งไม่รุนแรง เช่น เป็นลมเพราะกลัวการฉีดยา เวียนศีรษะ เป็นต้น
- อาการข้างเคียง ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับวัคซีน มีทั้งชนิดไม่รุนแรง เช่น ปวดกล้ามเนื้อเล็กน้อยบริเวณที่ฉีด และอาการข้างเคียงแบบรุนแรง เช่น ชัก ซึ่งต้องมีการพิสูจน์ว่าเกิดจากวัคซีนหรือไม่ ซึ่งเป็นระบบตรวจสอบที่ใช้กันทั่วโลก
- อาการแพ้ มีทั้งแบบไม่รุนแรง และแบบรุนแรง โดยแบบรุนแรง เช่น แน่นหน้าอก เหนื่อย ปวดท้อง อาเจียน มีผื่นขึ้นตามตัว ซึ่งพบได้น้อย
นายกฯย้ำการฉีดวัคซีนต้องเป็นไปตามแผน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ได้เน้นย้ำเรื่องการฉีด
อินเดีย ระงับส่งออกวัคซีนแอสตราฯ กระทบการส่งวัคซีนให้ประเทศยากจน ในโครงการโคแวกซ์
โครงการโคแวกซ์ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างองค์การอนามัยโลก (WHO) กับองค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีน ( กาวี ) คาดการณ์การส่งมอบวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและกลุ่มประเทศยากจน จำนวน 90,000,000 โดส ระหว่างเดือนมี.ค.-เม.ย.64 จะล่าช้ากว่ากำหนด แบ่งเป็น 40,0000,000 โดสในเดือนนี้ และ 50,000,000 โดส ในเดือนถัดไป
สถานการณ์ดังกล่าวเป็นผลจากการที่สถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย ประกาศระงับการส่งออกวัคซีน โควิชิลด์ ซึ่งเป็นชื่อทางการค้าของวัคซีนแอสตราเซเนกาและมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ที่ผลิตในประเทศ พร้อมทั้งส่งออกให้หลายประเทศ และเข้าร่วมโครงการโคแวกซ์ด้วย เนื่องจาก ความต้องการในประเทศเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากอินเดียเผชิญกับการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคโควิด-19 และการผันแปร 2 ครั้ง ของพันธุกรรมในเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ซึ่งกำลังแพร่ระบาดอยู่ในปัจจุบัน
วัคซีนที่ผลิตจากสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย เป็นกำลังสำคัญของโครงการ นับตั้งแต่โคแวกซ์เริ่มส่งมอบวัคซีนให้กับกานาเป็นประเทศแรกในโลก เมื่อปลายเดือนก.พ. 64 การกระจายวัคซีนดำเนินไปอย่างต่อเนื่องแล้วมากกว่า 31,000,000 โดส ในจำนวนนี้ 28,000,000 โดส มาจากโรงงานในอินเดีย ส่วนที่เหลือเป็นของเกาหลีใต้