!-- AdAsia Headcode -->

“วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก” ฉีดครบ 3 เข็ม แต่ละเข็มห่างอย่างน้อย 6 เดือน สร้างภูมิคุ้มกันเต็มที่ ลดความเสี่ยงโรคไข้เลือดออก

21 กุมภาพันธ์ 2563, 16:13น.


            สิ่งที่น่ากังวลใจเมื่อต้องอยู่ในที่มืด หรือมีแหล่งน้ำมากก็คือการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกที่พอเป็นขึ้นมาไม่ว่าใคร อายุเท่าไรก็มีโอกาสอาการหนักถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งหากถามถึงตัวยาที่ผ่านมาก็มีเพียงยาต้านไวรัสเท่านั้น จึงทำให้มีผู้วิจัยและพัฒนา “วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก” ขึ้นเพื่อช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรค แต่ถึงกระนั้นก็ยังเป็นที่สงสัยของใครหลายคนว่าวัคซีนป้องกันที่ว่าเป็นอย่างไร ใครควรได้รับการฉีด และในวันนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะพาทุกๆ คนไปทำความรู้จักเกี่ยวกับวัคซีนไข้เลือดออกกัน ถ้าพร้อมแล้วรีบไปดูกันเลย

            
 ไข้เลือดออกพาหะเป็นยุงลายตัวเมีย

            “โรคไข้เลือดออก” เป็นโรคจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue) โดยมีพาหะเป็นยุงลายตัวเมีย ซึ่งไวรัสเดงกี่ที่ก่อให้เกิดโรคสู่คนมีจำนวน 4 สายพันธุ์ด้วยกัน คือ DEN1, DEN2, DEN3 และ DEN4 ในเรื่องของอาการที่แสดงส่วนใหญ่ ได้แก่ มีไข้สูงเฉียบพลัน อ่อนเพลีย อาเจียนหรืออุจจาระเป็นเลือด มีจุดเลือดออกตามตัว รวมทั้งอาจเกิดภาวะหมดสติ และเสียชีวิต

            วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก


            สำหรับ “วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก” ผู้ที่ควรได้รับวัคซีน คือทุกคนที่มีอายุ 9-45 ปี และอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้เลือดออก และเป็นผู้ที่ไม่มีข้อห้ามใช้จากการศึกษา โดยประโยชน์ของวัคซีนชนิดนี้ คือ มีประสิทธิภาพป้องกันไข้เลือดออกทุกสายพันธุ์ (แต่ไม่ถึง 100%) นอกจากนี้ยังสามารถลดการนอนโรงพยาบาลจากไข้เลือดออกได้ และลดอัตราการป่วยที่มีภาวะเลือดออกรุนแรงได้อีกด้วย



            การฉีดวัคซีนเข้าสู่ร่างกายนั้น ภูมิคุ้มกันจะเกิดขึ้นเต็มที่เมื่อฉีดครบ 3 เข็ม โดยแต่ละเข็มฉีดห่างกัน 6 เดือน สามารถสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันไข้เลือดออกได้ 5-6 ปี นับจากวันที่ได้รับวัคซีนเข็มแรก ส่วนผลข้างเคียงที่เจอ ได้แก่ ปวดบริเวณที่ฉีด ปวดศีรษะ มีไข้ อ่อนเพลีย ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกในผู้ที่แพ้ส่วนประกอบของวัคซีน ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร และผู้ที่มีไข้

           
 จะเห็นได้ว่า วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกมีประโยชน์ มีอัตราการป้องกันโรคไข้เลือดออกได้สูง ดังนั้น ใครรู้ตัวว่ามีความเสี่ยงที่อาจจะเป็นไข้เลือดออก และไม่ได้อยู่ในข้อห้ามที่กำหนดข้างต้นก็สามารถไปฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกกันได้นะ



 



ข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

X