!-- AdAsia Headcode -->

กสทช. เผยความนิยมตลาดกลุ่มผู้ฟังวิทยุ FM "ลูกทุ่ง95 - Cool93 - จส.100" นำโด่ง!

31 ตุลาคม 2562, 20:05น.


    สำนักงาน กสทช. เปิดเผยข้อมูลความนิยม ตลาดกลุ่มผู้ฟังวิทยุ FM ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในรอบ 9 เดือน ของปี 2562 พบว่า มีความหลากหลายตั้งแต่กลุ่มผู้ฟังที่สนใจสถานีวิทยุ ข่าว การศึกษา เพลงไทยสากล เพลงสากล เพลงลูกทุ่ง ไปจนถึงการจัดรายการที่มีคอนเทนต์เฉพาะกลุ่มเพื่อเจาะกลุ่มผู้ฟังได้ตรงเป้าหมาย เช่น เรื่องสุขภาพ กีฬา และกฎหมาย ทั้งนี้ตลาดผู้ฟังวิทยุในปัจจุบันได้ขยายไปสู่ช่องทางออนไลน์ควบคู่ไปกับสถานีวิทยุที่ออกอากาศโดยการส่งสัญญาณผ่านคลื่นวิทยุ ซึ่งได้สร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ฟัง อีกทั้งยังสามารถเพิ่มฐานกลุ่มผู้ฟังวิทยุให้ขยายทั่วประเทศมากยิ่งขึ้น 



    Nielsen ได้เก็บข้อมูลผู้ฟังของทุกสถานีวิทยุ FM ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์พฤติกรรมการรับฟังวิทยุของประชาชนในทุกๆเดือน ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,650 กลุ่มตัวอย่าง โดยข้อมูลการสำรวจตั้งแต่เดือนมกราคม–กันยายน 2562 ได้แบ่งตามช่วงอายุของผู้ฟังและจัดกลุ่มตามช่วงอายุของผู้คนตามยุคสมัย



















     โดยสรุปภาพรวมของกลุ่มผู้ฟังวิทยุ FM ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในรอบ 9 เดือนของปี 2562 พบว่า

   - Gen X (อายุระหว่าง 40-59 ปี) และ Gen Y (อายุระหว่าง 20-39 ปี) เป็น 2 กลุ่มผู้ฟังหลักของสถานีวิทยุ มีสัดส่วนผู้ฟังในแต่ละเดือนประมาณ 36% ส่วน Gen Y มีสัดส่วนประมาณ 34% 

   - Baby Boomer (อายุระหว่าง 60-71 ปี) มีสัดส่วนผู้ฟังประมาณ 19% และกลุ่ม Gen Z (อายุระหว่าง 12-19 ปี) เป็นกลุ่มที่ให้ความสนใจรับฟังรายการวิทยุน้อยที่สุด มีสัดส่วนประมาณ 11% เท่านั้น 

   - สถานีวิทยุที่ได้รับความนิยมและมียอดผู้ฟังสูงสุด มีจำนวน 3 สถานี ได้แก่ FM 95 ลูกทุ่งมหานคร 93 ,Cool Fahrenheit สถานีเพลงฮิตไทยสากล และ จส.100 สถานีข่าวและการจราจร โดยแต่ละสถานี มียอดผู้ฟังเกิน 1 ล้านคนเกือบทุกเดือน

   - ทั้ง 3 สถานี ต่างมีจุดแข็งและมีความแตกต่างของเนื้อหารายการที่ออกอากาศกันอย่างชัดเจนเพื่อจับกลุ่มเป้าหมายผู้ฟังที่แตกต่างกัน กล่าวคือ FM 95 ลูกทุ่งมหานคร มีฐานผู้ฟังที่ชื่นชอบแนวเพลงลูกทุ่งที่มีกลุ่มผู้ฟังได้หลากหลาย, ส่วน 93 Cool Fahrenheit จับกลุ่มผู้ฟังยุคใหม่ วัยเริ่มทำงานเป็นหลัก, ในขณะที่ จส.100 ได้กลุ่มผู้ฟังวัยทำงานและเกษียณที่ต้องการพึ่งพาข่าว และสภาพการจราจร



   อย่างไรก็ตาม ความนิยมที่วัดได้จากจำนวนผู้ฟังวิทยุ ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของธุรกิจวิทยุเพียงอย่างเดียว เนื่องจากรายได้ของธุรกิจวิทยุมีหลากลายช่องทาง นอกจากรายได้จากค่าโฆษณาแล้ว ยังมีรายได้จากการจัดกิจกรรม คอนเสิร์ต อีเว้นท์ ที่ต่อยอดแตกแขนงได้มากมาย และที่สำคัญรายได้ยังขึ้นอยู่กับแบรนด์ของแต่ละสถานีวิทยุอีกด้วย ดังนั้นการสร้างแบรนด์ที่แข็งแรง จึงเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มที่สำคัญที่จะไปต่อยอดรายได้ของธุรกิจวิทยุอย่างมั่นคง

   
>>อ่านฉบับเต็ม คลิก<<






 

X