ม.หอการค้าไทย ชี้ ปรับขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำ 400 บาท ทำไทยเสียแต้มต่อกับเวียดนาม ที่ค่าแรงถูกกว่า

29 เมษายน 2567, 19:56น.


          นายธนวรรธน์ พลวิชัย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ จะส่งผลให้ไทยเป็นประเทศที่มีค่าแรงขั้นต่ำสูงอันดับต้นๆ ในอาเซียน เทียบกับเวียดนามที่เป็นประเทศคู่แข่งสำคัญของไทย มีค่าแรงเพียง 230 บาทต่อวันเท่านั้น ซึ่งมีแต้มต่อเรื่องเอฟทีเอ และการเติบโตเศรษฐกิจประมาณ ร้อยละ5-7 ต่อปี มีชนชั้นกลางมากขึ้น มีอัตราการเกิดเป็นบวก จำนวนประชากรกว่า 100 ล้านคน จึงมีเสน่ห์แรงมากกว่าไทย ถือเป็นความท้าทายของประเทศไทยในด้านประสิทธิภาพของแรงงานจะไม่ใช่ค่าแรงราคาถูกอีกแล้ว เปลี่ยนแปลงขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ ไม่มีแรงงานโดดเด่นในการจูงใจการลงทุน โดยคาดการณ์ว่าค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท จะครอบคลุมจำนวนแรงงานประมาณ 7.5 ล้านคน การบวกเพิ่ม 40 บาท จาก 360 บาททั่วประเทศ เฉพาะค่าแรงขั้นต่ำจะควักเงินของเอกชน 300 ล้านบาทต่อวัน หรือ 9,000 ล้านบาทต่อเดือน หากเริ่มปรับขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศภายในเดือนมิถุนายนนี้ ระยะ 7 เดือนที่เหลือจะมีเม็ดเงิน 7 หมื่นล้านบาทกระตุกเศรษฐกิจในมือแรงงาน แต่เป็นภาระต้นทุนของเอกชน



         ด้านผลสำรวจพบว่า ผู้ประกอบการร้อยละ 67.4 มองว่าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั้งประเทศ ไม่เหมาะสม เห็นเพียงร้อยละ 32.6 มองว่า หมาะสม โดยค่าแรงงานขั้นต่ำที่เหมาะสมอยู่ที่ 370 บาทต่อวัน การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ



          ผู้ประกอบการกว่าร้อยละ 48.7 กังวลมาก ทั้งภาระต้นทุนของธุรกิจที่สูงขึ้น แต่ทักษะการทำงานของลูกจ้างยังเท่าเดิม และต้นทุนอื่นสูงขึ้นด้วย โดยเป็นกังวลเรื่องยอดขายตกร้อยละ 5.4 เพราะต้นทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 ก็ต้องขึ้นราคาสินค้าทำให้กำไรลดลงร้อยละ 7.3



 



#วิกฤตค่าจ้างในไทย



#หอการค้าไทย 



 

ข่าวทั้งหมด

X