ไทย

5 เท่...น่าเที่ยว จ.ศรีสะเกษ

จังหวัดศรีสะเกษเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณ ซึ่งนำเอาศิลปวัฒนธรรมของชาติต่างๆ โดยเฉพาะขอมโบราณ มาหลอมรวมเข้ากับวิถีชีวิตท้องถิ่นอีสานอย่างลงตัว และมีเอกลักษณ์โดดเด่นและน่าสนใจ

วัดมหาพุทธาราม (วัดพระโต)

อยู่ถนนขุขันธ์ ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ ภายในวิหารของวัดเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวศรีสะเกษ คือ “หลวงพ่อโต” เ​ป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ปางมารวิชัย


สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์

อยู่ภายในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ ถนนกสิกรรม ตำบลหนองครก อำเภอเมืองศรีสะเกษ บริเวณสวนสมเด็จฯ มีต้นลำดวนขึ้นอยู่หนาแน่นเป็นดงใหญ่ โดยต้นลำดวนซึ่งเป็นพันธุ์ไม้หอม จะผลิดอกหอมอบอวลไปทั่วในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี และเนื่องจากต้นไม้ชนิดนี้มีความเกี่ยวพันกับชื่อ “ศรีนครลำดวน” ในอดีต จึงได้นำต้นลำดวนมาเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด นอกจากนี้ในบริเวณสวนฯ ยังมีสวนสัตว์ บึงน้ำ และสวนสาธารณะตกแต่งสวยงามร่มรื่น เหมาะกับเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไป สวนสมเด็จฯ เปิดทุกวัน เวลา 06.00-18.00 น.


บ้านขุนอำไพพาณิชย์

อยู่ถนนอุบล ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมืองศรีสะเกษ เป็นอาคารเก่าแก่ของขุนอำไพพาณิชย์ คหบดีชาวศรีสะเกษ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2468 โดยช่างชาวจีนและชาวมอญ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น 6 คูหา มีลวดลายปูนปั้นและไม้ฉลุประดับตามช่องลมดูสวยงาม ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะและความเชื่อตามคติจีนโบราณ อาคารหลังนี้ได้รับการบูรณะและอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดีจนได้รับรางวัลชนะเลิศโครงการดีเด่นการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมในเมืองเมื่อ พ.ศ. 2530 และกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อ พ.ศ. 2537


พระธาตุเรืองรอง

อยู่บ้านสร้างเรือง ตำบลหญ้าปล้อง อำเภอเมืองศรีสะเกษ เป็นพระธาตุที่สร้างขึ้นโดยการผสมผสานศิลปะอีสานใต้สี่เผ่าไทย ได้แก่ ลาว ส่วย เขมร เยอ มีความงดงามและเป็นเอกลักษณ์อย่างลงตัว


อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร

อยู่บ้านภูมิซรอล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ สถานที่ท่องเที่ยวภายในเขตอุทยานฯ ได้แก่ ผามออีแดง  อยู่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ลักษณะเป็นผาหินสีแดง มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 556 เมตร สามารถมองเห็นทัศนียภาพได้กว้างไกลสุดตา รวมทั้งมองเห็นปราสาทเขาพระวิหารซึ่งอยู่ในฝั่งของกัมพูชาได้ด้วยภาพสลักนูนต่ำ  อยู่ทางด้านทิศใต้ของผามออีแดง มีบันไดให้ลงไปชมได้สะดวก เป็นรูปแกะสลักนูนต่ำบนหินทรายเป็นรูปเทพสามองค์ สันนิษฐานว่าบริเวณดังกล่าวในอดีตเป็นที่ซ้อมมือของช่างแกะสลัก ก่อนจะดำเนินการแกะสลักจริงที่ปราสาทเขาพระวิหาร