!-- AdAsia Headcode -->

6 เหตุการณ์ สะเทือนใจ!! จากภัย Cyberbullying

13 มิถุนายน 2559, 12:06น.

A PHP Error was encountered

Severity: Notice

Message: Undefined offset: 76

Filename: post_share/detail.php

Line Number: 278


     วัน ‘Stop Cyberbullying ถือเอาวันศุกร์ที่สามของเดือนมิถุนายนเป็นวันรณรงค์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อรณรงค์สร้างความเข้าใจและป้องกันไม่ให้เกิดผู้กระทำและสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้ที่อาจตกเป็นเหยื่อของ cyberbullying โดยวันศุกร์นี้(17 มิ.ย.) เป็นวัน ‘Stop Cyberbullying’ 2016  จส.100 จึงนำเรื่องราว 6 เหตุการณ์ สะเทือนใจจากการโดน Cyberbullying มาเล่าเป็นอุทาหรณ์สำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครองให้รู้เท่าทันภัยจากโลกออนไลน์



     ก่อนอื่นมารู้จักก่อนว่า Cyberbullying คือ การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือหรือช่องทางเพื่อก่อให้เกิดการคุกคาม ล่อลวงและการกลั่นแกล้งบนโลกอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถเป็นทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ โดยรศ. นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล หัวหน้าสาขาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  มหาวิทยาลัยมหิดล รองประธานโครงการเกมสมดุล...ชีวิตสมดุล (HealthyGamer) ได้อธิบายความหมายของ Cyberbullying ไว้ว่า “เป็นการกลั่นแกล้งกันอย่างรุนแรงในโลกไซเบอร์ มักพบในกลุ่มเด็กวัยเรียนในโรงเรียน มหาวิทยาลัยเดียวกันโดยมีเจตนาต้องการแกล้งให้เพื่อนอับอาย  เสียหน้าเสียชื่อเสียง เสียเพื่อน ไม่ได้รับการยอมรับ ถูกอัปเปหิออกจากกลุ่ม” ซึ่งพบว่ามีการทำหลายวิธี เช่นสร้างเพจปลอมและใส่ข้อมูลที่ไม่เป็นจริงของเพื่อนเพื่อให้คนอื่นเข้าใจผิด หรือการตัดต่อภาพอย่างไม่เหมาะสม นอกจากนี้ทัศนคติของครูก็อาจช่วยซ้ำเติมเด็กที่ตกเป็นเหยื่อของการกลั่นแกล้ง  เพราะครูอาจมองว่าเด็กคนนี้คงไปทำอะไรผิดจึงเป็นเหตุให้โดนแกล้ง สุดท้ายผลร้ายก็ตกอยู่กับเด็ก เพราะเด็กขาดที่พึ่งไม่อยากไปโรงเรียนเพราะคุยกับใครไม่ได้ จนขาดเรียนติดต่อกันเป็นเวลานาน บางรายหันเข้าหายาเสพติด ซึมเศร้า หรือถึงขั้นทำร้ายตัวเองและฆ่าตัวตาย

สถิติที่น่าสนใจของ cyberbully





- 75% คือ อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ของกลุ่มที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ เด็กและเยาวชน อายุ 5-28 ปี และใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดถึง เกือบ 8 ชม.ต่อวัน (ที่มา ผลสำรวจจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์)

- 80% ของเด็กและเยาวชนไทย เจอภัยคุกคาม ล่อลวงและการกลั่นแกล้งโรงเรียนและบนโลกอินเทอร์เน็ต และเป็นอันดับต้นๆของเอเชีย (ที่มา www.nobullying.com)

- 28% ของเด็กไทย มองว่า Cyberbullying เป็นเรื่องปกติ

- 39% ของเด็กไทย มองว่า Cyberbullying เป็นเรื่องสนุก

- และกว่า 59% ของเด็กไทยบอกว่า “เคยเป็นส่วนหนึ่งใน Cyberbullying(ที่มาสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล)



เหตุการณ์ที่ 1

     ปุยฝ้าย (นามสมมติ) ความที่เธอเรียนดีจึงถูกเพื่อนในห้องอิจฉาโดยไม่รู้ตัว จนเรียนม.3 เทอม 2  มีรุ่นพี่ส่งลิ้งค์เพจมาให้แล้วบอกว่า อยากให้คนชอบตัวเองขนาดนี้เลยหรือ เธอตกใจ เมื่อเห็นภาพในเฟซบุ๊กของเธอ ถูกเปลี่ยนคำบรรยายภาพส่อไปในทางเพศว่า เด็กสก๊อยขายตัว พร้อมเบอร์ที่ติดต่อ ผลที่ตามมาคือ เธอถูกเพื่อนล้อ เพื่อนแกล้ง โยนงานให้เธอทำคนเดียว บอยคอต รวมถึงอาจารย์ก็ไล่ไม่ให้เข้าห้องเรียน ทั้งที่ไม่อยากไปโรงเรียน แต่กลัวพ่อแม่ผิดหวังจึงฝืนไป โดยเก็บตัวเงียบๆ อยู่ในมุมของตัวเอง จากผลการเรียนดีกลายเป็นตกฮวบ ความที่พ่อแม่ไม่มีเวลาจึงสอนให้เธอแก้ปัญหาด้วยตัวเอง แม้จะเครียด แต่ไม่เคยปริปากบอกเรื่องนี้ให้ใครรู้ มีแต่เพื่อนสนิทเพียง 2-3 คนที่รู้ เมื่อหลายอย่างรุมเร้า วันหนึ่งขณะที่เธออยู่คนเดียวก็เกิดความคิดว่า ชีวิตน่าเบื่อ อยู่ไปก็ไร้ค่า ไม่มีใครต้องการ ไม่มีอะไรดี หนำซ้ำยังนำปัญหามาให้พ่อแม่อีก โดยไม่รู้ตัวเธอหยิบคัตเตอร์ขึ้นมากรีดข้อมือตัวเอง โชคดีเพื่อนกลับมาเห็นทัน นับจากนั้นทุกวันที่มาโรงเรียน เพื่อนสนิทต้องตรวจกระเป๋าว่ามีของมีคมหรือไม่



     เมื่อถูกแกล้งหนักขึ้น เธอตัดสินใจปรึกษาพ่อ ซึ่งเป็นตำรวจ โดยแคปหน้าจอไว้เป็นหลักฐาน แล้วพยายามตามสืบ โดยพุ่งไปที่เพื่อนในห้อง เพราะสามารถรู้เบอร์โทรศัพท์เธอ จากนั้นเข้าโดเมนพื้นฐานว่าใครดูแลเพจปลอมนี้ แล้วนำรหัสไอดีไปเทียบกับรหัสเฟซบุ๊กของเพื่อนในห้อง จนรู้ตัวคนที่แกล้ง แต่เธอเก็บเป็นความลับ พอจบม.3 ก็ไปสมัครเรียนปริญญาตรีแบบสะสมหน่วยกิตที่มหาวิทยาลัยเปิดชื่อดังของเมืองไทย สาขากฏหมาย ขณะเดียวกันก็เรียนต่อม.4 ที่โรงเรียนเดิม ปรากฏว่าสถานการณ์พลิก เพื่อนที่เคยแกล้งย้ายไปอยู่ห้องอื่น ที่หลงเหลืออยู่ก็ไม่ค่อยแกล้งแรงๆ แล้ว วันหนึ่งเธอพูดขึ้นในห้องเรียนว่า รู้ตัวคนแกล้ง มีหลักฐานครบ จะแจ้งความ ปรากฏว่าวันรุ่งขึ้นเพจเจ้าปัญหานั้นปิดไปเลย แม้เรื่องราวของเธอไม่สามารถลบออกจากความทรงจำของทุกคนได้ แต่ปุยฝ้ายมีความสุขขึ้น ยึดหลักที่พ่อสอนว่า ธรรมะย่อมชนะอธรรม เธอต้องผ่านเหตุการณ์นี้ไปให้ได้ พยายามเปลี่ยนตัวเองจากที่เคยเก็บตัวเริ่มคุยกับเพื่อน ยิ่งได้ไปค่าย ‘ดิจิทัล ดิท็อกซ์’ ที่จัดโดย รศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล สาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ภายในเวลา 7  วันสามารถเปลี่ยนจากเด็กที่ไม่กล้าเข้าสังคมให้เปิดตัวเองเข้าหาเพื่อนใหม่ ได้รู้ว่ายังมีคนอื่นที่มีปัญหาเหมือนกันอยู่ ทุกวันนี้ปุยฝ้ายเรียนอยู่ชั้นม.6 ที่โรงเรียนเดิมอย่างมีความสุข 



ที่มา: คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล



เหตุการณ์ที่ 2

     มีเด็กคนหนึ่งบอกว่าก่อนหน้านี้มีผู้ชายคนนึงแอดเฟซบุ๊คมา ก็ไม่ได้สนใจโพรไฟล์อะไร แกก็รับเป็นปกติ สักพักผู้ชายคนนั้นก็โพสต์รูปโป๊ของเด็กที่หน้าวอลล์ในเชิงลามก รูปที่โพสต์เป็นรูปเด็กตอนอาบน้ำ เห็นด้านหลังเปลือย ซึ่งเด็กไม่แน่ใจว่ามีใครมาแอบถ่าย หรือรูปมันไปได้ยังไง แล้วเด็กก็ลบออกไปคิดว่าจบ แต่มันเป็นลักษณะว่าผู้ชายคนนี้เอาไปโพสต์ที่อื่นอีก เด็กก็เลยปรึกษากับเพื่อนสนิท เพื่อนบอกว่าอย่าไปบอกครู อย่าไปบอกผู้ใหญ่นะ เดี๋ยวจะเป็นเรื่องใหญ่ เดี๋ยวเขาจะแจ้งตำรวจ ก็คุยกันสองคน ไม่มีใครรู้ เด็กเลยใช้วิธีส่งข้อความไปบอกคนที่โพสต์รูปว่าให้ลบรูปผมซะ เขาก็บอกว่าจะลบให้ แต่จริงๆ คือรูปมันถูกแชร์ออกไปแล้ว และเด็กค่อนข้างได้รับผลกระทบทางจิตใจ กลางคืนตอนนอนก็จะผวาตื่น คิดถึงเรื่องนี้ว่ารูปมันไปถึงไหน เขาถ่ายอะไรได้มากกว่าข้างหลังมั้ย



ที่มา: สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

เหตุการณ์ที่ 3

     มีเด็กผู้หญิง ป 5 คนหนึ่ง อายุ 11 ปี เขาไปเล่นเน็ตที่ร้านแล้วลืมล็อคเอาท์ มีคนสวมรอยใช้เฟซบุ๊คเอาไปโพสต์ข้อมูลตามกรุ๊ปที่ขายบริการทางเพศ ประมาณว่า ‘สาววัยใสวัยประถมยังไม่เคยเสียสาว สนใจติดต่อผ่านอินบ็อกเฟซบุ๊คนี้’ ด้วยความที่เด็กไม่รู้เรื่อง พอมีคนแอดเฟรนด์มาก็รับเลย คือเด็กวัยนี้เขายังไม่ได้คิดถึงอันตรายหรือภัยต่างๆ เขาคิดแค่ว่าใครมีจำนวนเพื่อนเยอะๆ แสดงว่าคนนั้นป็อบปูลาร์ ทีนี้ปรากฎว่าส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชายส่งข้อความมา เด็กบอกว่าตอนแรกก็คุยดีๆ อยู่นะคะ ไปสักพักก็ถามว่า อยู่ที่ไหน เคยรึยัง ขอเบอร์โทรติดต่อหน่อย จะนัดขึ้นห้อง เด็กก็กลัว กลัวมาก แต่ดีที่เด็กคนนี้สัมพันธภาพกับพ่อแม่ค่อนข้างดี ก็เลยมาเล่าให้ฟังว่าเกิดอะไรขึ้น แม่ก็รับฟัง ช่วยซัพพอร์ท”



ที่มา: สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล 



เหตุการณ์ที่ 4

     เรื่องน่าเศร้าของ Amanda Todd เด็กสาวชาวแคนาดาวัย 15 ปี ที่โด่งดังไปทั่วโลก จากการเล่นเว็บแคม แล้วถูกชายคนหนึ่งใช้คารมเกลี้ยกล่อมให้เธอเปลือยหน้าอกโชว์ โดยแคปเจอร์ภาพอกอันเปลือยเปล่าของเธอเก็บไว้ ก่อนเผยแพร่ในเฟซบุ๊ก แล้วไม่ว่าเธอย้ายที่อยู่หรือโรงเรียนหนีกี่ครั้ง เขาก็ตามไปเผยแพร่ภาพนั้นให้กับเพื่อนในโรงเรียนใหม่ จนเธอไม่มีใครคบ ซ้ำร้ายความอ่อนแอทางจิตใจทำให้อแมนด้าเผลอไปมีความสัมพันธ์กับเพื่อนชายที่มีแฟนแล้ว จึงทำให้คนรอบตัวยิ่งทวีความเกลียดชังเธอเข้าไปใหญ่ เธอตัดสินใจกินน้ำยาฟอกขาวฆ่าตัวตาย โชคดีที่ช่วยชีวิตได้ทัน แทนที่เพื่อนจะสงสารกลับยิ่งโหดร้าย โพสต์ข้อความเกลียดชังเธอรุนแรงกว่าเดิม ด่าว่า ‘สมควรตายแล้ว, ตายซะดีกว่าอยู่, ทำไมไม่ตายๆไป’ หนำซ้ำยังแชร์ภาพน้ำยาฟอกขาวแนะนำให้เธอดื่ม แท็กเธอบนเฟซบุ๊กทุกครั้ง เพื่อช่วยให้ฆ่าตัวตายสำเร็จ ในที่สุดเธอรับแรงกดดันจากสังคม และถูกกลั่นแกล้งรังควานโดยไม่สิ้นสุดไม่ไหว จึงทำคลิประบายทุกข์ ระบายความในใจ ความเจ็บปวดที่ถูกแกล้ง ก่อนจะผูกคอตายในวันที่ 10 ตุลาคม 2012 







เนื้อหาเพิ่มเติม: www.dek-d.com

เหตุการณ์ที่ 5



Megan Meier เป็นเด็กอายุ 14 ที่ผูกมิตรกับเพื่อนชายชื่อ Josh Evans ทาง MySpace โดยไม่เคยพบกันมาก่อน ซึ่งภายหลังเพื่อนชายคนนี้ได้เปลี่ยนท่าทีจากที่เคยเป็นมิตร ให้กำลังใจ ชมเชย Megan กลับเปลี่ยนเป็นรำคาญ ส่งข้อความมาด่าทอ และไล่ให้ไปตาย สุดท้าย Megan ก็ตัดสินใจฆ่าตัวตายจริงๆ โดยกรณีนี้ถูกเปิดเผยภายหลังว่า Josh Evans เป็นแอคเคานท์ปลอมที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยแม่ของคนร่วมชั้นกับ Megan โดยมีเจตนาเอาไว้หลอกหาข้อมูลของ Megan เพื่อเอาไปใช้รังแกกันภายหลังครับ



ที่มา : en.wikipedia.org



และเหตุการณ์ที่ 6 (ล่าสุด)



     เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. สำนักข่าวต่างประเทศได้เผยแพร่อีกหนึ่งเรื่องราวสุดสลดใจในยุคอินเทอร์เน็ตครองเมือง เมื่อ'โทวอนนา ฮัลตัน'เด็กสาวชาวฟลอริดาวัย 15 ปีได้แอบหยิบปืนมายิงฆ่าตัวตายภายในบ้านพัก หลังรับไม่ได้ที่เพื่อนแอบถ่ายภาพเปลือยขณะอาบน้ำไปเผยแพร่บนโซเชียลมีเดียจนถูกคนแชร์กระจายไปทั่ว

     เรื่องราวเกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 มิ.ย. คลิปวิดีโอเปลือยขณะอาบน้ำของฮัลตันถูกเผยแพร่ผ่านแอพฯ Snapchat ก่อนจะถูกเพื่อนคนอื่นแชร์ต่อกระจายไปทั้งบน Twitter และ Facebook ในช่วงเช้าวันนั้นจนสร้างความอับอายให้ฮัลตันอย่างมาก กระทั่งเธอแอบหยิบปืนพกในบ้านไปยิงฆ่าตัวตายในห้องน้ำ

     ผู้เป็นแม่เปิดเผยว่า เธอรู้สึกได้ว่าลูกสาวแปลกๆ ไปในเช้าวันนั้น จนกระทั่งเธอเริ่มผิดสังเกตเมื่อประตูห้องน้ำล็อคและไม่มีเสียงตอบจากภายใน เมื่อเธอพังประตูเข้าไปก็พบร่างไร้วิญญาณของลูกสาวนอนแน่นิ่งจมกองเลือดอยู่ เธอพยายามทุกอย่างเพื่อให้ลูกสาวฟื้นขึ้นแต่ก็ไม่เป็นผล ลูกสาวเธอตายแล้ว



ที่มา : www.posttoday.com



     ปัญหาการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ (Cyberbullying) กำลังเป็นปัญหาที่คนไทยเผชิญอยู่และมีอัตราการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นมหันตภัยเงียบที่อาจจะทำหรือโดนกระทำอย่างไม่รู้ตัว ดังนั้นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ปัญหาที่สามารถลดลงได้นั่นคือ จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจถึงพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตปลอดภัย และระมัดระวังในก่อนที่จะโพสต์หรือแชร์ และการใช้อินเทอร์เน็ตทุกครั้งนั่นเอง



     ทั้งนี้เพื่อรู้เท่าทันภัยจากไซเบอร์ สามารถขอรับ “dtac Parent Guide คู่มือพ่อแม่ยุคดิจิทัล เข้าใจลูก เข้าใจ โลกไซเบอร์” ได้ฟรี!! ที่ดีแทค ฮอลล์ ทุกสาขา สถานีวิทยุ จส.100 รวมทั้งสามารถดาวน์โหลดผ่านเว็บไซต์ของดีแทคและยูนิเซฟและแอปพลิเคชันอุ๊คบี ได้ทั้งระบบปฏิบัติการ Android และ iOS 



Link Download : dtac Parent Guide Book 

Link สำหรับ Download ผ่าน Ookbee : dtac Parent Guide Book 



สามารถติดตามความข่าวสารและความเคลื่อนไหวของสถานีวิทยุ จส.100 ได้ทาง


     



สามารถดาวน์โหลด JS100 Application ได้ทั้งระบบ IOS และ Andriod ฟรี!!



 

X