!-- AdAsia Headcode -->

ธนาคารเลือด...ที่ไม่มีเลือด(สุนัข)

30 กันยายน 2557, 07:29น.

A PHP Error was encountered

Severity: Notice

Message: Undefined offset: 50

Filename: post_share/detail.php

Line Number: 278

สาเหตุที่คนเราเลี้ยงสุนัขมีหลายสาเหตุ บางคนเลี้ยงไว้เฝ้าบ้าน เลี้ยงไว้เป็นเพื่อนแก้เหงา บางคนถึงขั้นเลี้ยงไว้เป็นลูก คนรักสุนัขชอบบอกว่า "สุนัขก็ไม่ต่างจากคน มีเลือดเนื้อ มีชีวิต" ที่นี้เวลามันป่วยทำอย่างไรกัน? ถ้าป่วยไข้หวัดอย่างมากก็พาไปหาหมอกินยาก็ดีขึ้น แต่ถ้ามันเลือดตกยางออกต้องการเลือด เอาเลือดที่ไหนมาให้มันดีหล่ะ

ปัญหาใหญ่เวลาสุนัขต้องการเลือด คือ 'ไม่มีเลือด' ขนาดคนบางทียังต้องประกาศขอรับบริจาคเลือด แล้วสุนัขหล่ะทำอย่างไรดี? คงมีเจ้าของน้อยคนนักที่ตั้งใจพาสุนัขไปบริจาคเลือด สาเหตุหลักๆของคนรักสุนัข คือ กลัวมันเจ็บ!! ทำให้ในปัจจุบัน 'ธนาคารเลือดสุนัข' ตามโรงพยาบาลสัตว์ต่างๆ มีเลือดสุนัขสำรองไว้ใช้ในกรณีจำเป็นน้อยมาก เช่น หากมีสุนัขป่วยพร้อมกัน10ตัว อาจจะหาเลือดมาช่วยเหลือได้แค่3-4ตัว

ว่าแล้วก็...มาทำความรู้จักกับหมู่เลือดของสุนัขกันก่อน เลือดสุนัขมีทั้งหมด 8 กรุ๊ป คือ DEA1.1 , DEA 1.2 , DEA 3 , DEA 4 , DEA 5 , DEA 6 , DEA 7 , DEA 8 สำหรับหมู่เลือด DEA 1.1 กับ DEA1.2 จะไม่สามารถเป็นผู้บริจาคเลือดได้แต่สามารถรับเลือดได้คล้ายหมู่เลือด AB ของคน ส่วนหมู่เลือดอื่นๆ สามารถเป็นผู้บริจาคเลือดและรับเลือดได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นหมู่เลือดเดียวกัน แต่จะต้องมีการตรวจเลือดว่าเข้ากันได้หรือไม่ ส่วนหมู่เลือด DEA 4 สามารถบริจาคเลือดให้กับทุกหมู่เลือดได้

สำหรับคุณสมบัติของสุนัขที่จะสามารถบริจาคเลือดได้ จะต้องมีอายุอยู่ระหว่าง 1-8 ปี ไม่มีโรคประจำตัวหรือโรคติดต่อ ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนเป็นประจำ มีน้ำหนัก 17 กิโลกรัมขึ้นไป โดยในแต่ละครั้งที่บริจาคเลือดคุณหมอจะเก็บเลือก10-20 ซีซี ต่อ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (เช่น ถ้าสุนัขมีน้ำหนัก 20 กิโลกรัม ก็จะสามารถบริจาคเลือดได้ประมาณ200-400 ซีซี ต่อ1ครั้ง แต่การบริจาคเลือดส่วนใหญ่จะเก็บเลือดครั้งละไม่เกิน 450 ซีซี) ทั้งนี้สุนัขสามารถบริจาคเลือดได้ทุกๆ 3 เดือน เช่นเดียวกับคน

ข้อดีของการให้สุนัขบริจาคเลือด คือ ทำให้มีสุขภาพดี แข็งแรงขึ้น เพระาตามปกติ
ในร่างการของสุนัขเม็ดเลือดแดงจะถูกทำลายทุกๆ 3 เดือน กละจะมีกลไกสร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นมาใหม่เรื่อยๆ การบริจาคเลือดจึงทำให้ไม่ต้องทำลายเม็ดเลือดแดงที่เหลือ

แม้ว่าการบริจาคเลือดจะทำให้สุนัขแข็งแรง แต่ก็ใช่ว่าสุนัขทุกตัวจะสามารถบริจาคเลือดได้ หากเจ้าของสุนัขต้องการให้สุนัขบริจาคเลือด จะต้องนำสุนัขไปตรวจร่างกาย และเจาะเลือดเพื่อประเมินความสมบูรณ์ของร่างกาย ถ้าผลตรวจร่างกายและผลตรวจเลือดเป็นปกติดี จึงจะสามารถบริจาคเลือดได้

เขียนมาถึงตรงนี้ ไม่มีข้อสรุปใดใดเกี่ยวกับการบริจาคเลือดสุนัข แต่อยากเชิญชวนเจ้าของสุนัขพาสุนัขไปตรวจสุขภาพและบริจาคเลือดกันเถอะ "อย่ากลัวว่าสุนัขคุณจะเจ็บ เพราะยังมีสุนัขอีกหลายตัวที่เจ็บและรอเลือดจากสุนัขคุณ..."

ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ขอบคุณภาพประกอบจาก คุณสุดารัตน์ อุดมศิริพันธ์ุ และน้องน้ำหวาน(สุนัขในภาพ)



By:บุศรินทร์ วรสมิทธ
X