!-- AdAsia Headcode -->

เมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน มีขั้นตอน วิธีปฎิบัติ และควรทำอย่างไรบ้าง..?

18 เมษายน 2561, 16:18น.


     อุบัติเหตุนั้น..ไม่ว่าใครก็ไม่อยากให้เกิดขึ้นทั้งนั้น แต่มันก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยไม่ได้คาดคิด ไม่ทันตั้งตัว สมมุติว่าถ้าหากเราเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา เราจะรับมือยังไง? ต้องปฎิบัติอย่างไร? ให้ถูกต้อง...วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจ ข้อสงสัยเหล่านี้กันครับ กับ 'พีระพงษ์ กลั่นกรอง' (รายการ คาถากันชน)




สำหรับอุบัติเหตุบนท้องถนน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ก็คือ "ไม่มีคนเจ็บ" กับ "มีคนเจ็บ"


     - กรณีที่ "ไม่มีคนเจ็บ" ส่วนมากแล้วในทางกฎหมายถือว่าเป็น ความประมาท หรือไม่ก็ละเมิดต่อทรัพย์ ซึ่งเป็นคดีแพ่งฯ ถ้าไม่มีคู่กรณีก็ต้องซ่อมรถเองตามเงื่อนไขประกันภัยที่เรามี แต่ถ้ามีคู่กรณีไม่ว่าจะเป็นบุคคล บริษัทเอกชน รวมทั้งหน่วยงานของรัฐ ก็ต้องฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกันไป




(Cr.snyderinsurance)


     - กรณีที่อุบัติเหตุนั้น “มีผู้บาดเจ็บ” แบ่งออกเป็น 2 กรณี ก็คือถูกนำส่งโรงพยาบาลหรือไม่ ถ้าผู้บาดเจ็บถูกนำส่งโรงพยาบาลด้วยอาการ “บาดเจ็บสาหัส” ถือเป็นคดีอาญา และการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บนี่ถือเป็นสำคัญเพราะช่วยให้เขามีชีวิตรอดอยู่ แม้ว่าเราจะไม่มีความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลก็ตาม แค่เราหยุดช่วยหรือร้องขอความช่วยเหลือ ก็ถือว่าเราแสดงความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บแล้วครับ มีเหตุบรรเทาโทษได้ แต่ถ้าตรงกันข้ามกับการหนีหรือไม่หยุดช่วย อาจมีโทษถึงติดคุกเลยนะครับ




(Cr.belfasttelegraph)


เมื่อเกิดอุบัติเหตุ มีขั้นตอน และวิธีปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ครับ


1. อย่าเพิ่งเคลื่อนย้ายรถที่เกิดอุบัติเหตุ เพราะจะกลายเป็นทำลายหลักฐาน


2. เปิด ไฟกระพริบฉุกเฉิน และ รอเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ตำรวจทางหลวง มา ณ ที่เกิดเหตุก่อน เพื่อให้เขามาทำเครื่องหมายบนผิวถนน และแผนที่จุดที่รถเฉี่ยวชนกัน


3. โทรศัพท์แจ้งบริษัทประกันภัย และคนในครอบครัวให้ทราบ


4. ถ่ายรูปจุดที่เกิด บริเวณที่เกิด และลักษณะที่เกิดอุบัติเหตุไว้


5. จดบันทึกรถคู่กรณีไว้ เช่น ชื่อ-นามสกุล ผู้ขับขี่ ทะเบียนรถ ยี่ห้อ/รุ่นรถ สีรถ รวมทั้ง ชื่อ-นามสกุล ยศ ตำแหน่ง สังกัดของตำรวจจราจร ตำรวจทางหลวง ที่มาตรวจที่เกิดเหตุเอาไว้ เผื่อว่าต้องให้เขามาเป็นพยานในศาลเมื่อฟ้องร้องกัน...


     **กรณีที่มีอาสาสมัครจราจรมาสั่งให้เราเคลื่อนย้ายรถ อันนี้เราต้องพิจารณาดีๆ นะครับ.. ถามเขาว่า เขาจะรับผิดชอบไหมหากมีการฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาลกัน


6. หลังจากการเคลื่อนย้ายรถที่เกิดอุบัติเหตุแล้ว ผมเรียนเสนอให้เชิญคู่กรณีไปสถานีตำรวจ เพื่อลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐำน ป้องกันคู่กรณีฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายภายหลัง ..แม้ว่าบริษัทประกันภัยของรถทั้ง 2 คันจะตกลงชดใช้ค่ำซ่อมรถกันแล้วก็ตาม


7. ถ้ารถเราเสียหายหนักจนขับต่อไปไม่ได้ ให้รีบ “ถอดขั้วแบตเตอรี่” ออกก่อนที่จะทำการยกรถไปอู่ซ่อม เพื่อป้องกันไฟช็อต ไฟไหม้รถ




(Cr.daily.rabbit)


Q : ทำไมต้องรอเจ้าหน้าที่ตำรวจ บริษัทประกันภัยตกลงกันเองไม่ได้หรอ? แล้วทำไมต้องเชิญคู่กรณีไปสถานีตำรวจด้วย


A : ถ้าเฉี่ยวชนกันโดยไม่มีผู้บาดเจ็บ เป็นการละเมิดต่อทรัพย์ ถ้าคู่กรณีตกลงกันได้ ตำรวจก็ไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวด้วย โดยเฉพาะการเฉี่ยวชนกันในพื้นที่ส่วนบุคคล เช่น ในปั๊มน้ำมัน ในห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ตำรวจเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยไม่ได้ ยกเว้นมีการแจ้งความหรือร้องขอให้ช่วยเหลือ


     **ตำรวจจราจร ตำรวจทางหลวง คือ เจ้าหน้าที่/พนักงานจราจรตามกฎหมาย สามารถเป็นพยานให้เราได้กรณีที่มีการฟ้องร้องกันขึ้น บริษัทประกันภัยที่ตกลงชดใช้ค่าซ่อมรถกันเอง เป็นข้อตกลงระหว่าง 2 บริษัท ไม่เกี่ยวกับการฟ้องร้องดำเนินคดีระหว่างบุคคล


A : ทำไมต้องเชิญคู่กรณีไปสถานีตำรวจด้วย เพื่อแสดงหลักฐาน แสดงเจตนารมณ์ว่าบริสุทธิ์ และลงบันทึกประจำวันไว้โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าตกลงจะเอาความหรือไม่อย่างไรต่อกัน
X