!-- AdAsia Headcode -->

สรุปผล POLL หัวข้อ “ดื่มไม่ขับ กับ สงกรานต์ 61”

13 เมษายน 2561, 16:26น.


        เทศกาลสงกรานต์จัดเป็นช่วงที่มีอุบัติเหตุทางถนนและยอดผู้เสียชีวิตมากที่สุดช่วงหนึ่ง ซึ่งในการเกิดอุบัติเหตุนั้น รถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถปิคอัพ และรถจักรยานยนต์ ถือได้ว่าเป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากและบ่อยที่สุด และสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นนั้น มาจากการขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด และการเมาสุรา

        เมื่อวันที่ 7- 12 เม.ย.ที่ผ่านมา ศูนย์ วิชาการ เพื่อ ความปลอดภั ยทาง ถนน (ศวปถ.) ร่วมกับ สนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจร (สอจร.) ซึ่งเป็นภาคีเครือข่ายของ สสส. และสถานีวิทยุ จส.100 ได้จัดทำ Poll ทาง Facebook และ Twitter ของจส.100 สอบถามความคิดเห็นของแฟนเพจ เกี่ยวกับเรื่องมาตรการความปลอดภัยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อตอกย้ำและให้ทุกๆ คนได้ตระหนักถึงโทษ และอันตรายที่จะเกิดขึ้นหากเมาแล้วขับ

        มาดูผลสรุปของ poll ทั้งหมดที่ผ่านมา ว่าผู้ติดตาม Facebook และ Twitter JS100 มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง



        1. 7 เม.ย. 61

        สงกรานต์ที่ผ่านมา ท่านได้พบเห็นการตรวจวัดแอลกอฮอล์หรือไม่

        ไม่พบเห็น คิดเป็น 69.45 %

        พบเห็น คิดเป็น 39.55 %


        2. 8 เม.ย. 61

        สงกรานต์ที่ผ่านมา ท่านได้ถูกเรียกตรวจวัดแอลกอฮอล์หรือไม่

        ถูกเรียกตรวจ คิดเป็น 6.20 %

        ไม่ถูกเรียกตรวจ คิดเป็น 93.80 %

        3. 9 เม.ย. 61

        ท่านทราบหรือไม่ว่าในช่วง 7 วันสงกรานต์ ตำรวจและโรงพยาบาลมีมาตรการตรวจวัดแอลกอฮอล์ผู้ขับขี่ทุกราย กรณีที่เกิดอุบัติเหตุและมีผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บรุนแรง 

        ทราบ คิดเป็น 55.91 %


        ไม่ทราบ คิดเป็น 44.09 %

        4. 10 เม.ย. 61

        ท่านทราบหรือไม่ว่า ถ้าเป็นผู้ขับขี่ที่อายุไม่ถึง ๒๐ ปีหรือมีใบอนุญาตขับขี่ชั่วคราว ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดตามกฎหมายกำหนดต้องไม่เกินกี่ mg%  (มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์)

        20 mg% คิดเป็น 65.15 %

        50 mg% คิดเป็น 34.85 %

        ผู้ขับขี่มีอายุไม่ถึง 20 รวมถึงผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาตขับรถ และมีใบอนุญาตขับรถแบบชั่วคราว ถ้ามีแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 20 mg%   ถือว่าเมาสุรา สำหรับบุคลอื่นๆ คือ 50 mg%

        5. 11 เม.ย. 61

        ท่านทราบหรือไม่ว่า ถ้าผลตรวจวัดแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกฎหมายกำหนด ผู้ประสบเหตุ ถ้ามีระดับแอลกอฮอล์เกิน 50 mg% จะส่งให้ประกันภัยภาคสมัครใจ “ไม่คุ้มครอง” ตามเงื่อนไขประกันภัย (เช่น ประกันไม่คุ้มครองค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถ)

        ทราบ คิดเป็น 56.71%


        ไม่ทราบ คิดเป็น 43.29%

        โดยคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้มีการออกมาตรการ กับผู้ขับรถยนต์ที่ทำประกันภัยรถภาคสมัครใจ ถ้าหากมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะไม่ได้รับความคุ้มครองทั้งชีวิตและทรัพย์สินจากกรมธรรม์ประกันภัย

        6. 12 เม.ษ. 61

        ท่านทราบหรือไม่ว่า ถ้าผลตรวจวัดแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกฎหมายกำหนด แล้วถูกนำผลตรวจไปประกอบสำนวนคดี “เมาขับเป็นเหตุให้ผู้อื่นบาดเจ็บหรือถึงแก่ความตาย” ซึ่งจะมีโทษรุนแรงมากขึ้น ซึ่งผลสรุปรวมของ Poll ทาง Facebook และ Twitter เมื่อนำมารวมกันแล้ว พบว่า

        ทราบ คิดเป็น 74.84 %

        ไม่ทราบ คิดเป็น 25.16 %

        โทษในเรื่องของการเมาแล้วขับแล้วทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ โทษคือ จำคุก 1 - 5 ปี ปรับ 20,000 - 100,000 บาท พักใช้ใบอนุญาตฯ ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตฯ ส่วนเมาแล้วขับแล้วเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสจำคุก 2 - 6 ปี ปรับ 40,000 - 120,000 บาท พักใช้ใบอนุญาตไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาต แต่หากเมาแล้วขับเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คงโทษ จำคุก 3 - 10 ปี ปรับ 60,000 - 200,000 บาทรวมทั้งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

        ดังนั้น ไม่ว่าจะเทศกาลไหน อยากให้ทุกคนตระหนักถึงความปลอดภัยเรื่องการเมาแล้วขับให้มากขึ้น เพราะเมื่อเกิดเหตุขึ้นไม่ใช่แค่ตัวคุณเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่ พ่อ แม่ ญาติพี่น้อง คนที่คุณรัก คนที่รักคุณคงจะต้องเสียใจมากๆ ซึ่งคนที่ดื่มอย่าขับรถเลยจะดีที่สุด


 

X