!-- AdAsia Headcode -->

ชมคลิป จส.100 ตามรอยพระราชดำริในหลวง ร.9 ณ บึงหนองบอน ซอยเฉลิมพระเกียรติ 43

12 มกราคม 2560, 15:26น.

A PHP Error was encountered

Severity: Notice

Message: Undefined offset: 82

Filename: post_share/detail.php

Line Number: 278


         จากสภาพธรรมชาติดั้งเดิมของกรุงเทพฯ มีลักษณะลุ่มต่ำทำให้การระบายน้ำยามเกิดภาวะน้ำท่วมเป็นไปอย่างล่าช้า คูคลองจำนวนมากมีความลาดเทน้อย มีวัชพืชปกคลุมกีดขวางทางน้ำไหล ทำให้เป็นสาเหตุในการเกิดน้ำท่วมขังในกรุงเทพฯ และปริมณฑล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริ ให้มีระบบการบริหารจัดการ  น้ำท่วมดังกล่าว ในวิธีการที่ตรัสว่า "แก้มลิง"  ซึ่งได้พระราชทานพระราชอรรถาธิบายว่า "....ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกแล้วเอาเข้าปากเคี้ยวแล้วไปเก็บไว้ที่แก้ม..ลิงจะเอากล้วยเข้าไปไว้ที่กระพุ้งแก้มได้เกือบทั้งหวี โดยเอาไปไว้ที่แก้มก่อนแล้วจึงนำมาเคี้ยวบริโภ และกลืนกินเข้าไปภายหลัง"



        ต่อมากรุงเทพมหานคร จึงได้ดำเนินการจัดหาพื้นที่แก้มลิงของกรุงเทพฯ  จำนวน 21 แห่ง ซึ่งสามารถรองรับน้ำได้ประมาณ 12.74 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยโครงการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการแก้มลิงคลองมหาชัย-คลองสนามชัย โครงการแก้มลิงบึงหนองบอน  ในส่วนโครงการแก้มลิงบึงหนองบอน  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ให้เวนคืนที่บริเวณแขวงหนองบอน กรุงเทพฯ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ด้านทิศตะวันออกของกรุงเทพฯ  และใช้พื้นที่ดังกล่าวเก็บกักน้ำฝนโดยเมื่อน้ำในพื้นที่ลดลงจึงค่อยปล่อยน้ำออกจากบึงและลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา 



          โครงการแก้มลิงบึงหนองบอน เป็นแก้มลิงแห่งหนึ่งในจำนวนทั้งหมด 21 แห่ง ที่กรุงเทพมหานคร จัดไว้เป็นพื้นที่รองรับน้ำเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม ตั้งอยู่ในเขตประเวศ มีพื้นที่ทั้งหมด 644 ไร่ 1 งาน 37.5 ตารางวา เริ่มขุดบึงเมื่อปี พ.ศ. 2536  ใช้พื้นที่ประมาณ 500 ไร่ โดยขุดลึกประมาณ 10 เมตร แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2542 สามารถเก็บกักน้ำได้ 5,000,000 ลูกบาศก์เมตร  และได้วางแผนในการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือน พฤษภาคม- พฤศจิกายน ให้สามารถรับน้ำส่วนเกินจากคลองหนองบอนและคลองมะขามเทศ และในช่วงฤดูแล้ง เดือนธันวาคม-เมษายน จะทำหน้าที่เก็บกักน้ำไว้ในบึงเพื่อใช้ในการอุปโภค ทั้งนี้ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันศึกษาแนวทางการก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายใน 3 เมตร จากบึงหนองบอนออกสู่คลองประเวศบุรีรมย์ ความยาวประมาณ 330 เมตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับน้ำให้มากขึ้น



X